วันอาทิตย์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2551

หลักการแก้ปัญหากับภาษาคอมพิวเตอร์

1.วิเคราะและกำหนดรายละเอียดดังนี้

1.1การหาพื้นที่สามเหลี่มใดๆ

ตอบ 1.การระบุข้อมูลเข้า คือ พื้นที่รูปสามเหลี่ยมใดๆ1/2คูณ สูง คูณ ฐาน

2.การระบุข้อมูลออก คือการหาพื้นที่รูปสามเหลี่ยมใดๆ

3.การกำหนดวิธีการประมวลผล คือโจทย์ต้องการหา "พื้นที่รูปสามเหลี่ยมใดๆ"

1.2การคำนวณหาจำนวนเงินในบัญชีเงินฝากแบบประจำที่มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ8ต่อปี เมื่อนายสมชายฝากเงินครบ5ปีด้วยเงินต้นครั้งแรกจำนวน1000บาท

ตอบ 1.การระบุข้อมูลเข้า คือโจทย์กำหนดให้หาจำนวนเงินในบัญชิฃีเงินฝากแบบประจำมีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ8ต่อปีเมื่อฝากครบ5ปีด้วยเงินต้นครั้ง แรกจำนวน1000บาท

2.การระบุข้อมูลออก คือ จำนวนเงินในบัญชีเงินฝาก

3 .การกำหนดวิธีการประมวลผล คือ

3.1 จำนวนเงินต้นครั้งแรก 1000บาท

3 .2มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ8ต่อปี คิดโดยนำเอา8 หาร 100 คูณ 1000มีค่าเท่ากับ80

3.3ในเวลา 5 ปี มีดอกเบี่ย เท่ากับ 80 คูณ 5 เท่ากับ 400บาท

3.4 นำผลลัพธ์ ที่ได้ 400บาทมารวมกับจำนวนเงินต้นจะมีเงินในบัญชีทั้งสิ้น1400บาท

1.3 การคำนวณเกรดเทคโนโลยีสารสนเทศให้แก่นักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 4 จำนวน 30 คนดโยกำหนดให้คะแนนเติมในการเก็บคะแนนและการสอบทั้งหมดของวิชานี้คือ 100 คะแนนกฎเกณฑ์ในการให้เกรดคือ

-นักเรียนที่ได้คะแนนตั้งแต่ 80 คะแนนขึ้นไป ได้เกรด 4

-นักเรียนที่ไดคะแนน 70-79 ได้เกรด 3

-นักเรียนที่ได้คะแนน 60-69 ได้เกรด 2

-นักเรียนที่ได้คำแนน50-59 ได้เกรด

-นักเรียนที่ได้คะแนนตำกว่า50 ได้เกรด 0

ตอบ 1.การระบุข้อมูลเข้าจากโจทย์ข้อมูลเข้าคือ- นักเรียนมีทั้งหมด 30 คน- คะแนนเต็ม 100 คะแนนมีเกณฑ์ให้คะแนนคือ > 80 ได้เกรด 470-79 ได้เกรด 360-69 ได้เกรด 250-59 ได้เกรด 1<>

2.การระบุข้อมูลออกต้องการเกรดเฉลี่ย ของนร. ชั้นม. 4 จำนวน 30 คน

3.การกำหนดวิธีการประมวลผล

3.1.นำคะแนนเก็บของนักเรียนทั้ง 30 คน มาตรวจสอบ ว่าแต่ละคนได้ เกรดอะไร

3.2.นำเกรดของทั้ง 30 คนมาบวกกัน

3.3.นำเกรดที่บวกได้/จำนวนนร.ทั้งหมด

4.ได้เกรดวิชาเทคโนโลยีและสารสนเทศของนร.

2. ตอบ






3. หากนักเรียนเป็นโปรแกรมเมอร์ ผู้พัฒนาโปรแกรมคำนวณเกรดเฉลี่ยของนักเรียนในโรงเรียน นักเรียนจะเลือกใช้ภาษาปาสคาล ภาษาจาวา หรือภาษาเดลฟายในการเขียนโปรแกรมดังกล่าว เพราะเหตุใด
ตอบหากนักเรียนเป็นโปรแกรมเมอร์ ผู้พัฒนาโปรแกรมคำนวณเกรดเฉลี่ยของนักเรียนในโรงเรียน นักเรียนจะเลือกใช้ภาษาปาสคาล ภาษาจาวา หรือภาษาเดลฟายในการเขียนโปรแกรมดังกล่าว เพราะเหตุใดตอบ. จะให้เลือกภาษาปาสคาล เพราะว่าเป็นภาษาในกลุ่มโปรแกรมแบบโครงสร้าง ซึ่งมุ่งเน้นให้มีการแบ่งโปรแกรมออกเป็นส่วนย่อยๆชัดเจนจากนั้นจึงค่อยเชื่อมโยงทำให้สามารถจัดการได้โดยง่าย ภาษปาสคาลจึงเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสำหรับสร้างพื้นฐานความคิดในการเขียนโปรแกรมโครงให้แก่นักเรียน สามารถให้ทักษะในการเขียนโปรแกรมอย่างมีหลักเกณฑ์และถูกต้อง และสามารถอ่านและทำความเข้าใจได้ง่าย







วันจันทร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ซอฟต์แวร์

1. ความหมายของซอฟต์แวร์
ตอบ ซอฟต์แวร์ คือ ชุดคำสั่งที่สั่งงานคอมพิวเตอร์เป็นลำดับขั้นตอนของการทำงาน ชุดคำสั่งเหล่านี้ได้จัดเตรียมไว้ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์อ่านชุดคำสั่งแล้วทำงานตาม ซอฟต์แวร์จึงเป็นสิ่งที่มนุษย์จัดทำขึ้น และคอมพิวเตอร์จะทำงานตามคุณลักษณะของซอฟต์แวร์ที่วางไว้แล้วเท่านั้น ชนิดของซอฟต์แวร์แบ่งเป็นสองประเภทใหญ่ คือ ซอฟต์แวร์ระบบ (system software) และซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application software)
2.ประสิทธิภาพของซอฟต์ประมวลคำ
ตอบ 1) สามารถควบคุมสั่งจัดวางรูปแบบเอกสารได้ใหม่ตามต้องการ (2) ช่วยควบคุมให้แก้ไขดัดแปลงข้อความเป็นกลุ่ม (3) สามารถควบคุมการแสดงตัวสะกด
3.ระบบปฏิบัติการมีหน้าที่
ตอบ มีหน้าที่ประสารงานหรือกำกับดูแลการทำงานของคอมพิวเตอร์ในการกำหนดว่าจะเก็บโปรแกรมหรือข้อมูลเก็บไว้ในส่วนใดของหน่วยความจำ ดูแลการติดต่อระหว่างส่วนต่างๆ ของคอมพิวเตอร์กับโปรแกรมใช้งานหรือผู้ใช้คอมพิวเตอร์
4.ลักษณะของซอฟแวร์ประยุกต์เฉพาะทาง
ตอบเป็นโปรแกรมที่ได้รับการออกแบบและพัฒนาสำหรับนำไปใช้เฉพาะด้านหรือในสาขาใดสาขาหนึ่งตามความต้องการของผู้ใช้
5.ซอฟต์แวร์ตารางทำงานนอกเหนือจากบทเรือน 2 ข้อ
ตอบ1.เป็นเครื่องมือเพื่อการวิเคราะห์
2.คำนวณตัวเลขให้กับผู้ใช้
6.ประโยชน์ของซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล
ตอบดำเนินการจัดการข้อมูลได้ง่ายหลีกเลี่ยงความซับซ้อนของข้อมูล
7.แอสเซมบลีเป็นภาษาระดับใดรและมีลักษณะอย่างไร
ตอบภาษาระดับตำ มีลักษณะเป็นอักษรที่ใช้ในอักษรภาษาอังกฤษเป็นคำสั่ง
8.ตัวแปลภาษาระดับสูง
ตอบ 1.ภาษาฟอร์แทรน
2.ภาษาโคบอล
3.ภาษาเบสิก
4.ภาษาปาสคาล
5.ภาษาซี หรือซีพลัสพลัส
6.ภาษาวิชวลเบสิก
7.การเขียนโปรแกรมแบบจิตภาพ
8.ภาษาจาวา
9.ภาษาเดลฟาย

วันจันทร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

วันจันทร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

เทคโนโลยีสารสนเทศ

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
คำว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ มาจากคำ 2 คำนำมารวมกัน คือ คำว่า เทคโนโลยี และสารสนเทศ
เทคโนโลยี + สารสนเทศ = เทคโนโลยีสารสนเทศ
เมื่อพิจารณาความหมายของแต่ละคำจะมีความหมายดังนี้
เทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ ความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษย์ เทคโนโลยีจึงเป็นวิธีการในการสร้างมูลค่าเพิ่มของสิ่งต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น
สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ข้อมูลดังกล่าวต้องผ่านการเก็บรวบรวม จัดเก็บ ตรวจสอบความถูกต้อง แบ่งกลุ่มจัดประเภทของข้อมูล และสรุปออกมาเป็นสารสนเทศ และมนุษย์นำเอาสารสนเทศนั้นไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ เช่น รายงาน ผลงานการวิจัย ข่าวสารต่าง ๆ
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) หมายถึงการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสารสนเทศ ทำให้สารสนเทศมีประโยชน์ และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศรวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ที่จะรวบรวม จัดเก็บ ใช้งาน ส่งต่อ หรือสื่อสารระหว่างกัน เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องโดยตรงกับเครื่องมือเครื่องใช้ในการจัดการสารสนเทศ ซึ่งได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์รอบข้าง ขั้นตอน วิธีการดำเนินการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ เกี่ยวข้องกับตัวข้อมูล เกี่ยวข้องกับบุคลากร เกี่ยวข้องกับกรรมวิธีการดำเนินงานเพื่อให้ข้อมูลเกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้แล้วยังรวมไปถึง โทรทัศน์ วิทยุ โทรศัพท์ โทรสาร หนังสือพิมพ์ นิตยสารต่าง ๆ ฯลฯ
http://203.154.140.2/ict1/1/page_2.htm

วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์

ความหมายของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ หมายถึง เครื่องอุปกรณ์อีเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่ง ที่สามารถรับโปรแกรมและข้อมูลในรูปแบบที่เครื่องสามารถรับได้ และทำการประมวลผล โดยทำการเปรียบเทียบจนกระทั่งได้ผลลัพธ์ จากนั้นนำผลลัพธ์ที่ได้ไปแสดงผลที่อุปกรณ์แสดงผล เช่น จอภาพหรือเครื่องพิมพ์ เป็นต้น

ที่มา www.school.net.th


คอมพิวเตอร์มาจากภาษาละตินว่า Computare ซึ่งหมายถึง การนับ หรือ การคำนวณ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า "เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ ที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์"

วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์
จุดกำเนิดของคอมพิวเตอร์
ต้นกำเนิดของคอมพิวเตอร์อาจกล่าวได้ว่ามาจากแนวความคิดของระบบตัวเลข ซึ่งได้พัฒนาเป็นวิธีการคำนวณต่าง ๆ รวมทั้งอุปกรณ์ที่ช่วยในการคำนวณอย่างง่าย ๆ คือ" กระดานคำนวณ" และ "ลูกคิด"
ในศตวรรษที่ 17 เครื่องคำแบบใช้เฟื่องเครื่องแรกได้กำเนิดขึ้นจากนักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศษ คือ Blaise Pascal โดยเครื่องของเขาสามารถคำนวณการบวกการลบได้อย่างเที่ยงตรง และในศตวรรษเดียวกันนักคณิตศาสตร์ชาวเยอร์มันคือ Gottried Wilhelm von Leibniz ได้สร้างเครื่องคิดเลขเครื่องแรกที่สามารถคูณและหารได้ด้วย
ในต้นศตวรรษที่ 19 ชาวฝรั่งเศษชื่อ Joseph Marie Jacquard ได้พัฒนาเครื่องทอผ้าที่สามารถโปแกรมได้ โดยเครื่องทอผ้านี้ใช้บัตรขนาดใหญ่ ซึ่งได้เจาะรู้ไว้เพื่อควบคุมรูปแบบของลายที่จะปัก บัตรเจาะรู(punched card) ที่ Jacquard ใช้นี้ได้ถูกพัฒนาต่อๆมาโดยผู้อื่น เพื่อใช้เป็นอุปกรณ์ป้อนข้อมูลและโปรแกรมเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคแรกๆ

ยุคของคอมพิวเตอร์
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สามารถแบ่งออกได้โดยแบ่งส่วนประกอบของฮาร์ดแวร์ (Hardward ) เป็น 4 ยุคด้วยกัน
ยุคที่ 1 (1951-1958)
ก่อนหน้าปี 1951 เครื่องคอมพิวเตอร์จะมีใช้เฉพาะนักวิทยาศาสตร์ วิศวกร และทหารเท่านั้น จนกระทั่งผู้สร้าง ENIAC คือ Mauchly และ Eckert ได้จัดตั้งบริษัทเพื่อทำตลาดเชิงพาณิชย์ของเครื่องรุ่นถัดมาของพวกเขา คือเครื่อง UNIVAC ซึ่งคอมพิวเตอร์ในยุคนี้จะมี หลอดสูญญากาศ และ ดรัมแม่เหล็ก (magnetic drum) เป็นส่วนประกอบสำคัญ แต่หลอดสุญญากาศจะมีไม่น่าเชื่อถือสูง เป็นเหตุให้ต้องใช้ความพยายามอย่างมากในการทำให้เครื่องในยุคนั้นสามารถทำงานได้ ส่วนดรัมแม่เหล็กถูกใช้เป็นหน่วยความจำหลัก (primary memory) บนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนมากในยุคแรกนี้ ส่วนหน่วยบันทึกข้อมูลสำรอง (secondary storage) ซึ่งใช้เก็บทั้งข้อมูลและคำสั่งโปรแกรมในยุคนี้จะอยู่ในบัตรเจารู จนปลายยุคนี้เทปแม่เหล็กจึงได้ถูกนำมาใช้เป็นหน่วยบันทึกข้อมูลสำรอง

ยุคที่ 2 (1959-1964)
การพัฒนาที่สำคัญที่สุดที่แบ่งแยกยุคนี้ออกจากยุคแรก คือการแทนที่หลอดสูญญากาศด้วยทรานซิสเตอร์ (transistor) หน่วยความจำพื้นฐานก็ได้มีการพัฒนามาเป็น magnetic core รวมทั้งมีการใช้ magnetic disk ซึ่งเป็นหน่วยบันทึกข้อมูลสำรองที่มีความเร็วสูงขึ้น นอกจากนี้ ส่วนประกอบที่คอมพิวเตอร์ได้ถูกรวบรวมเข้าไว้ใน แผ่นวงจรพิมพ์ลาย (printed circuit boards) ซึ่งง่ายต่อการเปลี่ยนและมีการสร้างโปรแกรมวิเคราะห์เพื่อหาส่วนผิดพลาดได้อย่างรวดเร็ว

ยุคที่ 3 (1965-1971)
ในยุคที่ 3 เป็นยุคของอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ที่มีการเติบโตมาก ได้มีการนำ แผงวงจรรวม (IC หรือ integrated circuits) ซึ่งประกอบด้วยทรานซิสเตอร์และวงจรไฟฟ้าที่รวอยู่บนแผ่นซิลิกอนเล็ก ๆ มาแทนการประกอบแผ่นวงจรพิมพ์ลาย ทำให้เวลาการทำงานขิงคอมพิวเตอร์ลดลงอยู่ในหน่วยหนึ่งส่วนพันล้านวินาที นอกจากนี้ มินิคอมพิวเตอร์ได้ถือกำเนิดขึ้นในปี ค.ศ.1965 คือเครื่อง PDP-8 ของ Digital Equipment Corportion (DEC) ซึ่งต่อมาก็มีการใช้มินิคอมพิวเตอร์ที่สามารถติดต่อกับคอมพิวเตอร์กันอย่างแผร่หลาย รวมทั้งมีการใช้งาน เทอร์มินัล (terminal) ซึ่งเป็นจอคอมพิวเตอร์ผ่านทาง คีย์บอร์ด (keyboard) ทำให้การป้อนข้อมูลและพัฒนาโปรแกรมกระทำได้สะดวกขึ้น

ยุคที่ 4 (1971-ปัจจุบัน)
ในยุคที่ 4 เทคโนโลยีแผงวงจรรวมได้พัฒนาขึ้นเป็น แผงวงจรรวมขนาดใหญ่ (LSI หรือ large-scale integartion) และจากนั้นก็มีการพัฒนาต่าเป็น แผงวงจรขนาดใหญ่มาก (Very Large-Scale integartion - VLSI) ซึ่งทำให้เกิด microprocessor ตัวโลกของโลก คือ Intel 4004 จากบริษัท Intel ซึ่งเป็นการใช้แผ่นชิฟเพียงแผ่นเดียวสำหรับเก็บ หน่วยควบคุม (control unit) และ คำนวณเลขตรรกะ (arithmetic-logic unit) ของคอมพิวเตอร์ทั้งหมดเทคนิคในการย่อทรานซีสเตอร์ให้อยู่กันอย่างหนาแน่นบนแผ่นซิลิกอนนี้ ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจากปัจจุบันสามารถเก็บทรานซิสเตอร์นับล้านตัวไว้ในชิปเพียงหนึ่งแผ่น ในส่วนของหน่วยบันทึกข้อมูลสำรอง (secondary storage) ก็ได้เพิ่มความจุขึ้นอย่างมากจนสามารถเก็บข้อมูลนับพันล้านตัวอักษรได้ในแผ่นดิสก์ขนาด 3 นิ้ว
ที่มา http://cpkd.chandra.ac.th/selfstud/it4lite/sub%20intro3.htm

ชนิดของคอมพิวเตอร์
ชนิดของคอมพิวเตอร์นั้น แบ่งออกเป็น 4 ชนิด คือ
1.Super Computer คอมพิวเตอร์ชนิดนี้ใช้กันมากในงานด้านวิทยาศาสตร์ เช่น การพยากรณ์อากาศ การวิจัยทางด้านสาธารณสุข โครงการยานอวกาศ
2.Mainframes Computer คอมพิวเตอร์ชนิดนี้ใช้กันมากในวงการธุรกิจขนาดใหญ่และขนาดกลาง เพื่อใช้ในงานประมวลผลข้อมูลในลักษณะที่เรียกว่าการเข้าสู่ส่วนกลาง (Centralization)
3.Mini Computer ธุรกิจที่ใช้มินิคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะได้แก่
3.1) ธุรกิจขนาดเล็กจะใช้มินิคอมพิวเตอร์เป็นระบบคอมพิวเตอร์หลักสำหรับงานทั่วๆ ไปในธุรกิจ3.2) ธุรกิจขนาดใหญ่จะใช้มินิคอมพิวเตอร์สำหรับงานใดงานหนึ่งโดยเฉพาะ เพื่อเป็นการลดงานของเมนเฟรม คอมพิวเตอร์ ได้แก่ การใช้มินิคอมพิวเตอร์ในการจัดทำข้อมูล ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล (EDITING) เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลที่จะส่งไปประมวลผลที่เมนเฟรมคอมพิวเตอร์นั้น เป็นข้อมูลที่ถูกต้องแน่นอนแล้ว
4.Micro Computer ใช้กันอย่างกว้างขวางตามบ้าน ในสำนักงาน ในธุรกิจขนาดเล็กแม้กระทั่งในสถาบันการศึกษา เพื่อใช้เป็นเครื่องช่วยการเรียนการสอน การที่นำเอาไมโครคอมพิวเตอร์มาใช้กันมากในธุรกิจขนาดเล็กนั้น เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงการเสียค่าใช้จ่ายสูง ในการที่ต้องซื้อหรือเช่าระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่มาใช้ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นร้านค้าปลีกที่จะใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการบันทึกรายละเอียดสินค้าคงเหลือ และทำบัญชีต่างๆ นอกจากนี้นยังอาจนำไปใช้ในการเล่นเกม บันทึกความจำ เช่น การนัดหมาย หมายเลขโทรศัพท์และใช้เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารโดยใช้ระบบไทม์แรชริ่ง (Time-Sharing) ด้วยก็ได้
ที่มา: การจัดการธุรกิจด้วยคอมพิวเตอร์ http://www.geocities.com

วันจันทร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

coffee prince

ทุกๆคนเสาร์นี้อย่าลีมดูซีรีย์เรือง coffee prince นะ